วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักการถ่ายภาพกฎ 3 ส่วน



หลักการถ่ายภาพกฎ 3 ส่วน


              การจัดวางตำแหน่งหลักของภาพถ่าย เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดผลทางด้านแนวความคิด และความรู้สึกได้
 การวางตำแหน่งที่เหมาะสมของจุดสนใจในภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และที่นิยมกันโดยทั่วไปคือ ?กฎสามส่วน?
กฎสามส่วนกล่าวไว้ว่า ไม่ว่าภาพจะอยู่แนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม หากเราแบ่งภาพนั้นออกเป็นสามส่วน ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน
 แล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้งสามเส่น จะเกิดจุดตัดกันทั้งหมด 4 จุด ซึ่งจุดตัดของเส้นทั้งสี่นี้ เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางวัตถุ
ที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่นหลัก
ส่วนรายละเอียดอื่นๆนั้น เป็นส่วนสำคัญที่รองลงมา
การจัดวางตำแหน่งจุดเด่นหลักไม่จำเป็นจะต้องจำกัดมากนัก อาจถือเอาบริเวณใกล้เคียงทั้ง สี่จุดนี้

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าจุดสนใจจะอยู่บริเวณจุดตัด ทำให้ภาพดูสมบูรณ์

นอกจากนี้เรายังสามารถใช้แนวเส้นแบ่ง 3 เส้นนี้ เป็นแนวในการจัดสัดส่วนภาพก็ได้อย่างการจัดวางเส้นขอบฟ้าให้
อยู่ในแนวเส้นแบ่ง
 โดยให้ส่วนพื้นดินและท้องฟ้าอยู่ในอัตราส่วน 3:1 หรือ 1:3 แต่ไม่ควรแบ่ง 1: 1


จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า อัตราส่วนระหว่างพื้นดินกับท้องฟ้าเป็น 1:3 นอกจากนี้ตำแหน่งจุดสนใจยังอยู่ที่บริเวณจุดตัด ทำให้ภาพดูสมบูรณ์ และน่าสนใจยิ่งขึ้น และเรายังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพอื่นๆ โดยใช้หลักการเดียวกัน


หลักการถ่ายภาพชัดลึก ชัดตื้น



หลักการถ่ายภาพชัดลึก ชัดตื้น




(shallow/deep depth of field) คำว่าตื้น/ลึกหมายถึงช่วงความลึกของภาพที่จะคมชัดนั่นเอง ลองนึกถึงสถานการณ์สองแบบ แบบแรกคุณอยากถ่ายรูปคนครึ่งตัว โดยต้องการให้คนในรูปเด่นกว่าวิวด้านหลัง ไม่ว่าวิวด้านหลังจะเป็นฝาผนังห้องสีหม่นๆ หรือมีของอะไรก็ไม่รู้รกรุงรังไปหมด หรือมีคนเดินไปเดินมา ที่อาจจะทำให้ภาพออกมาดูไม่ดี เราก็อยากเน้นให้คนที่เราถ่ายชัดๆ ในขณะที่ภาพด้านหลังเบลอๆ แบบนี้เราควรจะถ่ายภาพแบบชัดตื้น นั่นคือช่วงความลึกที่ภาพจะชัดจะน้อย อีกสถานการณ์หนึ่ง คุณไปเที่ยวเจอวิวทิวทัศน์สวยๆ อยากถ่ายเก็บรูปวิวให้คมชัดทุกส่วน ไม่งั้นเดี๋ยวแม่น้ำชัดแต่ภูเขาด้านหลังมัว ไม่ก็ป้ายดิสนีย์ชัด แต่ตึกที่เป็นลวดลายการ์ตูนกับมัว ภาพก็ขาดความน่าสนใจไป แบบนี้เราต้องเลือกถ่ายแบบชัดลึก นั่นคือไม่ว่าของอะไรอยู่ห่างจากกล้องแค่ไหนก็จะชัดหมด (เลนส์แต่ละตัวจะมีสเปกว่าระยะโฟกัสต่ำสุดมีค่าเท่าไร นั่นหมายความว่าของที่อยู่ใกล้เกินไปอาจโฟกัสไม่ได้ แต่ของที่อยู่ห่างกว่านั้นสามารถโฟกัสชัดหมด) การถ่ายภาพชัดเป็นเรื่องสำคัญ แต่จะให้ชัดตื้นหรือชัดลึกจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนดูเข้าใจว่าคนถ่ายต้องการสื่ออะไรในรูปบ้างตัวอย่างภาพ มาดูตัวอย่างกันดีกว่า รูปนี้ถ่ายกุหลาบแห้งบนโต๊ะที่มีข้าวของวางเต็มไปหมด ผมไม่อยากให้คุณรู้ว่าโต๊ะรกแค่ไหน ก็เลยตั้งถ่ายชัดตื้นไว้ โดยโฟกัสที่ subject คือช่อกุหลาบ




 ด้วยวิธีนี้เวลาคนมองก็จะเห็นภาพดอกกุหลาบเป็นจุดเด่นของภาพ รู้สึกว่าภาพมีมิติมากขึ้น และละความสนใจของฉากไปได้เยอะ


 แล้วจะถ่ายยังไง สำหรับคนที่เริ่มถ่ายรูป จำง่ายๆว่ายิ่งเปิดหน้ากล้องกว้าง ภาพยิ่งชัดตื้น เปิดหน้ากล้องแคบลง ภาพจะชัดลึก (จริงรายละเอียดมีมากกว่านี้ เอาไว้ผมจะมาอธิบายเรื่อง exposure ภายหลัง เรื่องมันยาว) การตั้งการเปิดหน้ากล้อง จะสังเกตจากตัวเลขที่ตามหลังค่า f อย่างเช่น f/2.2, f/4.6, f/1.8 ที่ผมเขียนกำกับแต่ละรูปข้างบน โดยค่าตัวเลขยิ่งน้อย ภาพจะชัดตื้น ค่ายิ่งมาก ภาพจะชัดลึก ดังนั้นถ้าต้องการถ่ายภาพชัดตื้น ก็ตั้งการเปิดหน้ากล้องด้วยค่า f ให้ต่ำๆเท่าที่เลนส์จะตั้งได้ เช่น f/1.8, f/2.8 ในขณะที่ถ้าถ่ายวิวทิวทัศน์ ควรตั้งค่า f สูงๆ เช่น f/8.0 ขึ้นไป เลนส์ที่ดีๆ(และทำให้ราคาแพง) มีช่วงในการ


ตั้งค่า f ได้กว้าง เลยทำให้สามารถถ่ายภาพได้หลากหลายขึ้น  แต่ถ้ากล้องคุณไม่สามารถตั้งค่า f ได้เองล่ะ อาจใช้วิธีการเซตโหมดการถ่ายรูปเอา อย่างเช่นโหมด landscape ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปภูเขา กล้องจะตั้งไปที่โหมดชัดลึก ในขณะที่ถ้าอยากถ่ายชัดตื้น ลองตั้งไปที่โหมด portrait สัญลักษณ์เป็นหน้าคน หรือมาโคร สัญลักษณ์ดอกไม้ ก็อาจจะทดแทนกันได้ ถ่ายชัดตื้นโฟกัสที่ตรงไหน ถ้าถ่ายชัดลึก ทุกจุดของภาพควรจะต้องชัดหมด ดังนั้นโฟกัสตรงไหนก็ไม่ควรแตกต่างกัน ปกติเค้าก็จะโฟกัสที่ตรงกลางภาพ แต่การโฟกัสภาพชัดตื้นจะท้าทายกว่า เพราะถ้าโฟกัสผิดตำแหน่ง ภาพก็จะเบลอง่าย จำไว้ว่าเวลาถ่ายหน้าคน จุดที่คนมักจะมองก่อนคือดวงตา ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรโฟกัสที่ตำแหน่งตาแล้วค่อย recompose ภาพอีกที



ข้อควรระวังในการถ่ายชัดตื้น เนื่องจากภาพชัดตื้นมีความลึกของภาพที่จะคมชัดน้อย ถ้าไม่จัดภาพดีๆอาจทำให้คนดูคิดว่าภาพนี้เบลอได้ ดังนั้นการวางองค์ประกอบของภาพเป็นเรื่องสำคัญ มาดูตัวอย่างรูปถ่ายน้องสามคนในภาพ ที่แต่ละรูปโฟกัสที่แต่ละคน ดังนี้  รูปแรกโฟกัสที่น้องปอที่นั่งขวามือ รูปกลางที่น้องวิวที่นั่งตรงกลาง รูปสุดท้ายน้องโอที่อยู่ทางซ้ายมือ จะเห็นว่าโฟกัสที่ใครคนนั้งชัดแต่คนที่เหลือจะมัว รูปแรกเป็นรูปที่ดูออกมาดีที่สุด เพราะคนที่ชัดอยู่ด้านหน้าของภาพและเป็นจุดที่คนจะสังเกตก่อน การที่คนอื่นมัวทำให้คนที่นั่งหน้าสุดเด่นขึ้น ภาพที่สองแม้คนกลางชัดแต่คนหน้าจะมัว ทำให้ถ้าไม่สังเกต จะไม่รู้ว่าเราต้องการเน้นคนกลาง ยิ่งภาพสุดท้ายสองคนขวามือมัวเพราะเราไปโฟกัสคนหลัง ถ้ามองผ่านๆจะนึกว่าภาพทั้งภาพมัวไปเลย ดังนั้นการโฟกัสควรจะเน้นให้ subject ที่เราต้องการเน้นอยู่ด้านหน้า (หรือมีพื้นที่ในภาพมากกว่าองค์ประกอบอื่น) ในขณะที่เราอาจจะวางตำแหน่ง subject อยู่ตรงกลางหรือเยื้องข้างๆก็ได้ แต่อย่าให้อยู่ขอบเกินไป ก็จะได้ภาพที่ทำให้คนดูรู้ว่าเราต้องการถ่ายเน้นอะไร ตำแหน่งไหนแทนที่จะคิดว่าภาพนั้นเบลอ โต๊ะเก้าอี้ที่ตึกสหกรณ์ Illini วันหิมะตก ถ่ายที่ 1/800sec f/8.0 เปิดหน้ากล้องแคบเพื่อให้โต๊ะที่อยู่ที่ความลึกแตกต่างกันชัดเหมือนๆกัน แล้วเมื่อไหร่ควรจะถ่ายภาพชัดตื้น/ชัดลึก ถ้าของทุกอย่างในภาพอยู่ที่ระดับความลึกเท่ากันหมด ถ่ายชัดตื้นหรือลึกก็ไม่มีความแตกต่าง แต่ถ้า subject ในภาพแต่ละชิ้นอยู่ที่ความลึกแตกต่างกัน เราควรจะใช้หลักยังไง หลักง่ายๆคืออยากเน้นอะไรก็ถ่ายให้ตรงนั้นชัด ถ้าเน้น subject ไม่ว่าจะเป็นคน ดอกไม้ แมลง ก็ถ่ายชัดตื้น โดยจัดให้ subject ที่ชัดในภาพกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพ เวลาคนดูมองภาพ สายตาจะได้มองไปที่ subject นั้นๆ แต่ถ้าต้องการถ่ายเน้นวิวก็ควรถ่ายแบบชัดลึกจะได้เห็นรายละเอียดของภาพครบ เอ๊ะแล้วถ้าคนก็อยากเน้น วิวก็สวย จะถ่ายแบบไหนดี คำตอบคือ แล้วแต่ความพอใจคุณเองครับ ข้อควรระวังของการถ่ายชัดตื้นคือ การถ่ายรูปคู่ที่คนสองคนในภาพอยู่คนละระนาบความลึก ถ้าตั้งกล้องชัดตื้นไป อาจทำให้คนใดคนหนึ่งชัด อีกคนมัวโดยไม่ได้ตั้งใจ บางครั้งเราอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเปิดหน้ากล้องกว้าง เช่น ถ่ายในห้องที่ไม่สว่างมาก ควรจะแนะนำให้คนที่อยู่ในภาพยืน/นั่งห่างจากกล้องเท่าๆกัน ถ้าทำไม่ได้อาจจำเป็นต้องใช้แฟลชช่วย จะได้ไม่ต้องเปิดหน้ากล้องกว้างเกินไป ทุกคนในภาพจะได้ชัดตามที่เราต้องการ

เทคนิคง่ายๆของการถ่ายภาพบุคคล



 เทคนิคง่ายๆของการถ่ายภาพบุคคล



อีเมลพิมพ์PDF

              

 photographer

โฟกัสที่ตา

หลักการสำคัญข้อแรกของการถายภาพบุคคลคือการโฟกัสที่ดวงตา เนื่องจากดวงตานั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาพเนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกและแสดงถึงอารมณ์ของภาพ ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตาและทำให้ตาไม่ชัดนั้นตัวแบบที่เราถ่ายจะดูเหมือนคนสุขภาพไม่ดีดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที เหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่กว้างซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกที่น้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่หลายครั้งเอาอาจพบกรณีที่จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัดหรือบางครั้งเป็นแก้มหรือว่าใบหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่หรือว่าใบหูไม่ชัดก็จะยังสามารถเป็นภาพที่ดีได้ ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจการโฟกัสดวงตาให้ชัดจึงสำคัญเป็นประการแรก
pic_01

อย่าตัดบริเวณข้อต่อ

หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นดูไม่ดี ความรู้สึกของคนดูภาพจะรู้สึกเหมือนว่าตัวแบบของเรานั้นแขนหรือขาขาดได้ การตัดกรอบภาพบริเวณแขนขาหรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องไม่ตัดบริเวณข้อต่อเท่านั้นเอง เนื่องจากข้อต่อต่างๆเป็นจุดเชื่อมต่อของร่างกายอยู่แล้ว การตัดบริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นการเน้นย้ำความรู้สึกคนดูภาพว่าอวัยวะส่วนนั้นอาจขาดหายไปได้มากจนเกินไป การระวังไม่ตัดบริเวณข้อต่อจะทำให้ได้ภาพที่ดีกว่า
pic_02

สื่อสารกับตัวแบบของคุณให้ชัดเจน

เพราะว่าการถ่ายภาพ Portrait นั้นช่างภาพไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพแนวอื่นเช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่ายและตัวแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าอย่างได้อารมณ์และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกเลย คืออย่าทำให้ตัวแบบเรามีความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจให้ได้ ว่าท่านต้องการอารมณ์และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงกันแล้วเชื่อแน่นอนได้ว่า คุณจะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการได้ไม่ยากนัก
pic_03

ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น

ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่นภาพแนววิถีชีวิต แนวสารคดีหรือว่าแนวอื่นๆก็ตาม บางครั้งเราต้องถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคนๆนั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คนๆนั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิตหรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรงๆนั้นค่อนข้างจะเสียมารยาทและทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้บ่อย การที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้นคนถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ถ่ายได้พอๆกัน เราควรที่จะเข้าไปพบปะพูดคุยกันเสียก่อนแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่ายภาพเขา ถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวยๆนั้นมีความเป็นไปได้สูงครับ บางครั้งเราอาจต้องพูดคุยไปถ่ายไปและคอยจับกริยาท่าทางของเขาและก็ค่อยๆถ่ายไป แน่นอนครับในหลายๆครั้งเราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเอง เพราะการจะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้นบางครั้งจะทำให้เขาเกร็งได้ครับ อย่างภาพตัวอย่างนี้ผมถ่ายภาพ “แป๊ะหลี” ซึ่งเป็นพ่อค้าขายกาแฟคนดังแห่งตลาดคลองสวนครับ ก็ต้องอาศัยเข้าไปนั่งพูดคุยกันอยู่สักพักถึงจะได้รูปดีๆมาครับ
pic_04

Window light

การควบคุมทิศทางแสงนั้นถือเป็นเทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคลให้มีความแตกต่าง ในสถานะการณ์ต่างๆนั้นก็จะมีสภาพแสงที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้นๆอย่างไร หนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้งานได้ง่ายคือการใช้งานแสงที่เข้ามาเพียงด้านเดียว ซึ่งจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานไม่ยากและสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี เราสามารถใช้เทคนิคนี้ได้โดยการหาสถานที่ที่มีแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่าง ประตู หรือว่าช่องกำแพงก็ได้ ขอให้เป็นสถานที่ๆสามารรถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้ แล้วจัดให้แสงเข้ามาด้านข้างของตัวแบบ เท่านี้เราก็จะได้ภาพแสงที่แตกต่างจากปกติอยู่พอสมควรแล้วซึ่งเทคนิคนี้ไม่ยากจนเกินไปนัก อยู่ที่เราจะสามารถหาสภาพแสงในสถานที่นั้นๆได้หรือไม่ จากภาพตัวอย่างข้างล่างเป็นภาพที่ให้ตัวแบบยืนข้างๆช่องแสง เพื่อให้มีแสงเข้ามาทางด้านขวาของภาพเพียงด้านเดียว ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะแปลกตาและน่าค้นหามากขึ้น
pic_05

ถ่ายภาพย้อนแสง

หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำและได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่

1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)
2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)

จากสามวิธีการข้างต้นนั้นจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพย้อนแสงโดยมีประกายที่เส้นผมได้ โดยที่ไม่ทำให้ตัวแบบของเราหน้าดำอีกต่อไป วิธีการนี้ไม่ยากและนำไปปรับใช้กับสถานะการณ์ต่างๆได้ไม่ยากครับ
pic_06

การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์

ในหลายๆครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลังโดยที่เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเช่น การไปถ่ายรูปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆหรือการถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญ เรามักพบว่าโดยทั่วไปมักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพซึ่งในหลายครั้งตัวแบบของเราจะไปบดบังภาพทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ ใน Tips&Trick ฉบับที่แล้ว เราพูดถึงการวางจุดสนใจในภาพซึ่งเราสามารถนำหลักการนั้นมาใช้งานร่วมกับการถ่ายภาพบุคคลได้เช่นกัน โดยให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง (ดูรายละเอียดจุดตัด 9 ช่องได้ใน Tips ฉบับก่อน) จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ อีกวิธีการหนึ่งก็คือถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายร่วมกับตึกหรือสิ่งที่มีลักษณะเป็นทรงตั้ง ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับเป็นการถ่ายภาพคู่ก็ได้โดยให้จินตนาการว่าสถานที่นั้นๆเป็นคนอีกคนหนึ่ง ดังรูปที่สองด้านล่างที่เป็นคนถ่ายคู่กับโดมของธรรมศาสตร์
pic_07




เทคนิคในการถ่ายภาพสัตว์


 เทคนิคในการถ่ายภาพสัตว์




 ในช่วงวันหยุดหลายครอบครัวคงต้องการพาบุตรหลานไปเที่ยวพักผ่อน สถานที่ยอดนิยมของบุตรหลานน่าจะเป็นสวนสัตว์เนื่องจากทั้งเด็ก และผู้ใหญ่จะมีกิจกรรมที่ได้สนุกร่วมกันเรียนรู้ธรรมชาตินานาพันธุ์ไปพร้อมกันด้วย ไหนๆ ก็ไปเที่ยวสวนสัตว์ทั้งทีต้องถ่ายภาพเก็บไว้ ขอแนะนำเทคนิคง่ายๆ ในการถ่ายภาพสวนสัตว์ให้ดูสวยงามน่าสนใจ
1. เลือกเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส สูงสักหน่อย เช่น 80-200 mm. หรือ 70-120 mm. หรือมากกว่าถ้ามี หากเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวเช่น 135 mm. หรือ 200 mm. ยิ่งดี เพราะว่าสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ต้องอยู่ในกรง เราต้องถ่ายภาพผ่านกรงจึงไม่อาจเข้าใกล้ได้ แน่นอนคุณคงไม่อยากเดินเข้าไปถ่ายเสือ ในกรงแน่ๆ
2. เปิดหน้ากล้องให้กว้าง เมื่อถ่ายผ่านกรงหรือตาข่าย สิ่งนี้เองช่วยให้สิ่งที่เป็นฉากหน้า ในภาพเบลอหรือหลุดออกจากโฟกัสไปเลยเลนส์ที่ราคาสูงมีหน้ากล้องกว้าง F/ 2.8 พวกนี้จะใช้ได้สมราคาก็ตอนนี้แหละครับ
3. หลีกเลี่ยงฉากหลังที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น กรง ตาข่าย เสาต่างๆ ควรมองหามุมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อความกลมกลืน หรือเราโม้กับเพื่อนได้ว่าไปถ่ายกระทิงมาจากเขาใหญ่ ใช้เวลาซุ่มรออยู่เกือบอาทิตย์ อะไรก็ว่าไป (ถ้าไม่อายนะ!!)
4. ใช้แฟลชเปิดเงา ส่วนมากสัตว์ในสวนสัตว์จะอยู่ในร่มเพราะต้นไม้รอบๆ บริเวณสวนสัตว์มักเป็นไม้ใหญ่มีร่มเงา การใช้แฟลชจะช่วยให้มีรายละเอียดของสีผิว
และแน่นอนประกายที่ดวงตาช่วยทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวาขึ้น สัตว์บางประเภทที่มีสีสันสดใส เช่น นกแก้ว เมื่อเปิดแสงแฟลชช่วยสีสันจะออกมาอิ่ม แต่ควรชดเชยแฟลชให้อันเดอร์เล็กน้อย เพื่อความเป็นธรรมชาติให้ใช้แสงธรรมชาติ เป็นหลัก แฟลชเป็นเพียงแสงเสริมเท่านั้น

5. แยกแฟลชเลยเป็นไง ทำงานกันแบบมืออาชีพดีกว่า บางคนแม้จะมีอุปกรณ์แบบสมัครเล่น แต่ในปัจจุบันแฟลชยี่ห้อดังๆ หลายรุ่น ออกแบบให้มีการใช้โหมด Slave Flash สามารถแยกแฟลชออกจากตัวกล้อง งานนี้อาจให้คุณลูกช่วยถือแฟลชในตำแหน่งที่คุณพ่อต้องการ เช่น เอียงทำมุม 45 องศากับแบบที่จะถ่าย แต่คงไม่ถึงกับให้ถือเดินเข้ากรงสิงโตนะครับ  อะหย่อย!
6. เลือก Crop ภาพบางส่วนเป็นการมองหามุมมองใหม่ๆ เช่น ถ่ายภาพช้างตัวใหญ่ๆ แต่ถ่ายเน้นเฉพาะงวงช้างขณะที่กำลังรับผลไม้จากมือคน (สวย) ด้วยแล้วคุณอาจได้ภาพแนวสารคดีแบบNational  Geographic  เลยก็ได้
7. ภาพทีเผลอ Candid ใช้ได้ดีกับงานถ่ายภาพในสวนสัตว์เพราะสัตว์ต่างๆ มักจะไม่วางมาดหล่อ สวย ต่อหน้ากล้อง ยกเว้นมนุษย์ ช่างภาพบางคนเทียวไปเทียวมาที่เขาดินหลายครั้งเพียงเพื่อรอเก็บภาพฮิปโปหาว ของแบบนี้ต้องมีโชคมาช่วยเล็กน้อย
 แต่ต้องเตรียมกล้องให้พร้อมเสมอเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด Mode Auto ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น เนื่องจากลดขั้นตอนการวัดแสง แต่ควรชดเชยแสง เปิดแสงล่วงหน้าว่าสภาพแสงอยู่ในระดับที่สามารถใช้มือถือกล้องถ่ายได้หรือไม่
8. ย้อนแสงก็ไม่เลว บางครั้งการถ่ายภาพสัตว์ในลักษณะย้อนแสงก็ทำให้ได้ความรู้สึกแปลกใหม่ไปอีกแบบ
แต่ควรเลือกสัตว์ชนิดที่มีรูปร่างเด่นๆ เช่น ช้าง ยีราฟ ลองนึกดูภาพยีราฟคอยาวเป็นเงาดำ มีพระอาทิตย์กำลังตกเป็นฉากหลัง เพื่อนๆ อาจนึกว่าคุณไปถ่ายถึงแอฟริกามาก็ได้ใครจะรู้


9. ลองใช้เลนส์มาโครดูบ้าง บรรยากาศในสวนสัตว์ส่วนใหญ่จะร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์เล็กๆ เช่น หอยทาก แมลง อาจมีให้เห็นลองใช้เลนส์มาโครของคุณเก็บภาพโลกใบเล็กเหล่านี้ไว้ก็น่าจะดี อย่างน้อยก็บอกใครๆ ได้ว่า นี่คือการถ่ายภาพ Wild life อย่างแท้จริง (ฮ่าฮ่า..)
10. ข้อสุดท้ายสำคัญมาก คือ การไม่รบกวนสัตว์มากเกินไป เช่น การยิงแฟลชระยะใกล้ หรือยิงตรงไปยังดวงตาของสัตว์บางชนิด อาจมีผลในอนาคต คิดถึงอกเขาอกเรานะคะ
ให้มีความเมตตา กรุณา เอื้ออารีเป็นที่ตั้ง ทุกชีวิตมีคุณค่าเท่ากันไม่ว่าคนหรือสัตว์ล้วนรักชีวิต ไม่อยากโดนรังแกหรือกลั่นแกล้ง อยู่ในกรงแล้วยังมาโดนแฟลชวูบวาบๆ คงน่ารำคาญไม่น้อย ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพและอย่าลืมส่งภาพสวยมาอวดฝีมือกันบ้างนะ








เทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์




                                              เทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์








การถ่ายภาพทิวทัศน์ Landscape Photography (FOTOINFO)โดย จิรชนม์ ฉ่ำแสง

          การถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือที่นักถ่ายภาพบ้านเรานิยมเรียกทับศัพท์ว่า แลนด์สเคป (Landscape) เป็นหนึ่งในหมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของการถ่ายภาพ ซึ่งในการจะถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ให้ออกมาสวยงามไม่ได้มีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อน  แต่สำหรับมือใหม่ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่าย          คำว่า ภาพวิวทิวทัศน์ที่ดี อาจมองได้หลายมุม บ้างว่าต้องแสงสวย บ้างเน้นที่การจัดวางองค์ประกอบของภาพ บางคนว่าต้องมีอารมณ์อยู่ในนั้น บางความเห็นว่าต้องเป็นภาพที่มีความลึก และอีกสารพันคำตอบที่จะว่าไปแล้วก็แทบไม่มีข้อได้ผิด สำหรับมุมมองในส่วนของผู้เขียนเอง เห็นว่าทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องไม่อาจละเลยได้ทั้งสิ้น ทว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาพวิวทิวทัศน์ภาพนั้น ๆ มีคุณค่ามีความหมาย ภาพ ๆ นั้น จะต้องสามารถแสดงความเป็นเอกลักษณ์ หรือจุดเด่นของสถานที่นั้น ๆ ออกมาให้ได้มาที่สุด และเงื่อไขอันจำเป็นที่จะเอื้อให้เกิดภาพอย่างที่ว่ามานั้นก็ขึ้นอยู่กับเรื่องของ "เวลา"

          ผู้ถ่ายภาพควรต้องมีเวลาให้กับสถานที่หนึ่ง ๆ มากเพียงพอ อย่างน้อย ๆ ควรมากกว่าหนึ่งวันขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อสำรวจสถานที่ให้ละเอียด ค้นหาจุดเด่นของสถานที่ให้เจอ พร้อมกำหนดมุมภาพ กำหนดทางยาวโฟกัสของเลนส์ และกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพนั้น ๆ  
 เทคนิคพื้นฐานของการถ่ายภาพทิวทัศน์

          โดยทั่วไปแล้วการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ไม่ค่อยมีเทคนิคอะไรที่ซับซ้อน เพียงเน้นให้ภาพมีความคมชัด และสีสันที่สดใสเป็นหลัก และเป็นภาพในลักษณะที่ต้องการช่วงความชัดค่อนข้างมากเป็นพิเศษ คือมีความชัดตั้งแต่ฉากหน้าไปจนฉากหลังที่เป็นทิวเขาหรือท้องฟ้า ดังนั้นการฝึการควบคุมช่วงความชัดให้ได้ตามใจต้องการจึงเป็นสิ่งสำคัญ

          ปัจจัยแรกที่ส่งผลโดยตรงต่อช่วงความชัดก็คือ ช่องรับแสง หรือ เอฟนัมเบอร์ (F-STOP) การใช้ช่องรับแสงกว้าง ระหว่าง f/1.4 – f/4 จะส่งผลให้มีช่วงความชัดเกิดขึ้นน้อยอย่างที่เรียกกันว่า "ชัดตื้น" คือมีความชัดเกิดขึ้นเฉพาะในบริเวณจุดโฟกัสเท่านั้น ที่ไกลออกไปก็จะเบลอ ตรงกันข้ามกับการใช้ช่องรับแสงแคบ ตั้งแต่ f/11 ขึ้นไปที่จะส่งผลให้มีช่วงความชัดเกิดขึ้นมาก อย่างที่เรียกกันว่า "ชัดลึก" ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์มากกว่า
          ปัจจัยตัวที่สองที่มีผลต่อช่วงความชัดก็คือ ตำแหน่งในการโฟกัสภาพ ลักษณะในการเกิดช่วงความชัดของภาพจะมีระยะเกิดขึ้นหน้าจุดโฟกัสหนึ่งส่วน และเกิดหลังจุดโฟกัสสองส่วน เป็นอัตราส่วน 1:2 อย่างนี้เสมอ หากทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้ทะลุปรุโปร่งแล้ว จะทำให้เราสามารถสร้างช่วงความชัดที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยการใช้เพียงช่องรับแสงกลาง ๆ เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ช่องรับแสงแคบ ๆ เสมอไป การโฟกัสภาพไปที่ระยะทางหนึ่งในสามของภาพนี้มีชื่อเรียกว่า "Hyper Fogus"




 แสง ปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ ของการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์

          แสงที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์นอกเหนือช่วงเวลาที่ฟ้าเปลี่ยนสีในยามพระอาทิตย์ขึ้น-ตก ก็คือแสงเฉียง ๆ ของยามเช้า และบ่ายแก่ ๆ ในทิศทางตามแสง เนื่องจากแสงลักษณะนี้จะทำให้ภาพวิวทิวทัศน์ดูมีมิติสวยงาม ทำให้ภาพถ่ายที่เป็นสื่อสองมิติอันแบนราบดูมีมิติที่สามหรือความลึกเกิดขึ้นแก่ผู้ชมภาพได้
    ทว่าสิ่งเหล่านี้มิใช่กฎเกณฑ์อันควรนำมาผูกมัดกับการถ่ายภาพอยู่ตลอดเวลา นักถ่ายภาพที่ดีควรรู้จักการพลิกแพลง เปลี่ยนแปลงนำสิ่งที่ดีที่สุดมาปรับใช้กับการถ่ายภาพของตนเอง

 อุปกรณ์ที่จำเป็นในการ ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์

          แม้จะเป็นการถ่ายภาพในยุคซอฟท์แวร์ครองเมือง ที่แทบทุกเรื่องสามารถแก้ไข ดัดแปลง ตกแต่ง รีทัช ราวกับจะเสกสรรค์ปั้นแต่งขึ้นมาได้จากหน้าจอและเพียงปลายนิ้วสัมผัสบนคีย์บอร์ด ทว่ายังมีอุปกรณ์ทางกายภาพบางชนิดที่ยังคงความจำเป็นในระดับ "ขาดเธอขาดใจ" อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ "ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (Polarizing Filter)          หน้าที่หลักของฟิลเตอร์ชนิดนี้คือ การตัดแสงโพลาไรซ์ หรือก็คือ แสงสะท้อนสีขาว ๆ ที่เกิดบนวัตถุที่มีผิวเรียบหรือมันวาว เช่น ผิวน้ำ ใบไม้ที่มีความมัน กระจก ฯลฯ โดยสวมฟิลเตอร์โพลาไรซ์ไว้หน้าเลนส์ หมุนหาตำแหน่งที่จะตัดแสงสะท้อนออกไปในปริมาณที่พอใจ ซึ่งผลของการใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้สามารถสังเกตได้ทันทีจากในช่องเล็งภาพ จึงเป็นเรื่องง่ายในการใช้งานและประหยัดเวลากว่าการมาแก้ไขในภายหลัง
          นอกจากนี้ ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ ยังช่วยให้สีสันของท้องฟ้ามีความเข้มขึ้น ทำให้ปุยเมฆขาว ๆ มีรายละเอียด ทั้งนี้ มีข้อแม้ว่าท้องฟ้านั้นต้องเป็นสีฟ้าอยู่ก่อนแล้ว มิใช่ขาวซีดไร้สีสัน และมุมที่จะถ่ายต้องอยู่ในทิศทางตามแสง

          อย่างไรก็ดี แม้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์จะช่วยตัดแสงสะท้อน และเพิ่มความเข้มของสีท้องฟ้า แต่ในอีกด้านหนึ่งมันเป็นฟิลเตอร์ที่กินแสงมากถึง 2 สตอป หมายความว่าที่ช่องรับแสงเท่าเดิม เมื่อใส่ฟิลเตอร์โพลาไรซ์เข้าไปที่หน้าเลนส์แล้ว ความไวชัตเตอร์ที่ได้จะต่ำลงมาอีก 2 สตอปนั่นเอง จึงอาจจำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพอีกอย่างหนึ่งเข้ามาช่วยเพื่อให้ได้ภาพที่มีทั้งช่วงความชัด(ลึก) และความคมชัดควบคู่กันไป

          ขาตั้งกล้อง ยังคงเป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับนักถ่ายภาพผู้ฝักใฝ่ในคุณภาพสูงสุดอยู่ดี โดยเฉพาะในสภาพแสงช่วงเช้า ๆ หรือเย็น ๆ ซึ่งมีปริมาณและความเข้มของแสงน้อย เป็นเรื่องปกติที่จะให้ความไวชัตเตอร์ต่ำถึงต่ำมาก ประกอบกับที่ต้องใช้ช่องรับแสงแคบ ระบบลดความสั่นไหวในตัวกล้องหรือเลนส์จึงไม่อาจช่วยได้ทุกครั้งไป ขาตั้งกล้องจึงนับเป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ผู้หลงใหลการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์จะขาดเสียมิได้ 
          สำหรับขาตั้งกล้องที่ดีในการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ คือขาตั้งกล้องขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ขาตั้งขนาดใหญ่และหนักจะทำให้กล้องมีความมั่นคงและนิ่งสนิทจริง แม้เมื่อมีลมปะทะ แม้ในยามที่ต้องตั้งกล้องไว้กลางลำธาร หรือแม้ตั้องปักรับรับแรงกระแทกของคลื่นลมริมหาดทราย 

          พึงจำไว้ว่าขาตั้งที่เล็กและเบานั้นดีเฉพาะตอนแบก แต่มันแทบจะไร้ประโยชน์ตอนใช้งานจริง ส่วนขาตั้งกล้องที่ใหญ่และหนักแม้ว่าจะดูเทอะทะเป็นภาระ และทำให้ช้าเวลาถ่ายภาพ แต่มันจะมีประโยชน์มาก ๆ เมื่อถึงเวลาต้องใช้งานจริง

เทคนิคการถ่ายภาพกลางคืน



 เทคนิคการถ่ายภาพกลางคืน


          ช่วงที่ผ่านมาทาง BIG CAMERA ได้ร่วมกับ TSD Magazine จัดงาน The Circle of Love Camera Love Moment ณ สถานที่สุดฮิปย่านราชพฤกษ์อย่าง THE CIRCLE RATCHAPRUK ภายในงานมีการถ่ายภาพ Portrait และการบรรยายจากเหล่าวิทยาการมากมาย ซึ่งหนึ่งในหัวข้อบรรยายนั้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ และสถาปัตยกรรม ในตอนกลางคืน
          เราจึงนำเกร็ดความรู้มานำเสนอให้คุณได้ลองไปสนุกกับการถ่ายภาพครั้งต่อไป หากอยู่ใกล้กับสถานที่ที่แนะนำไปข้างต้นก็จะได้ไปทดลองแล้วนำภาพส่งมาแลกเปลี่ยนกันชม



CANON 550D, Lens 18-55 mm F/8, 1/15 S, ISO400, AWB
          เริ่มจากภาพแรกที่ใครก็ถ่ายภาพได้ เพียงทำตัวให้นิ่ง อย่าขยับไปมาแล้วค่อยๆ กดชัตเตอร์ ในกล้องหลายตัวจะมีโหมดการถ่ายภาพกลางคืน (Night Mode) คุณเข้าไปเลือกได้เลยรับรองได้ภาพแนวนี้แน่นอน
          สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดภาพนี้ คือ ความเร็วของชัตเตอร์ ต้องปิดช้าเพื่อให้แสงผ่านเข้าไปยังเซ็นเซอร์มากตามที่ต้องการ ในกล้องรุ่นใหม่ๆ ทั้ง DSLR, Mirrorless หรือ Compact จะมีโหมด Hand-Held ช่วยประมวลผลภาพก่อนที่จะบันทึกเพื่อลดความสั่นไหวในภาพนั่นเอง ดังนั้นแม้ไม่ได้เตรียมขาตั้งกล้องไปก็มีโอกาสได้ภาพ แต่อย่างไรถ้ามีขาตั้งกล้องก็ควรนำมาใช้



CANON 550D, Lens 18-55 mm, F/6.3, 1/4 S, ISO100


CANON 550D, Lens 18-55 mm, F/6.3, 1/4 S, ISO100

          ภาพซ้ายมือนี้เริ่มใส่เทคนิคการปรับให้วัตถุไม่ชัด เพื่อให้แสงจากหลอดไฟมีขนาดใหญ่ฟุ้งขึ้น ในกล้องคอมแพคก็ทำได้โดยพยายามให้กล้องไปโฟกัสวัตถุที่อยู่ใกล้กว่าแล้วแตะปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้ครึ่งหนึ่ง เมื่อได้ภาพเบลอสมใจจึงกดชัตเตอร์
          ทางขวาจะเห็นดวงไฟเป็นเหมือนดวงวิญญาณล่องลอย มีเทคนิคไม่ยากเพียงขยับกล้องไปเฉียงขึ้นทางขวาเล็กน้อยขณะกดชัตเตอร์คุณก็จะได้ภาพลักษณะเช่นนี้
          ทั้งสองภาพปรับไวท์บาลานซ์เป็นแบบฟลูออเรสเซนท์เพื่อให้แสงสีส้มเข้มกว่าปกติ เพราะถ้าตั้งให้ตรงกับค่าแสงของไฟประมาณ 3200 องศาเคลวิล สีของดวงไฟจะซีดลงไปไม่น่าสนใจเท่านี้ หรือท่านใดยังไม่สะใจก็สามารถปรับค่าด้วยโปรแกรมภายหลังตามสะดวก



CANON 550D, Lens 18-55 mm, F/6.3, 1/4 S, ISO100


CANON 550D, Lens 18-55 mm, F/16, 1/1.3 S, ISO100

          สองภาพด้านบน เริ่มใส่ลูกเล่นเพิ่มขึ้นเพื่อให้ภาพดูสนุกกว่าเดิม ด้วยเทคนิค ระเบิดซูม และการเคลื่อนที่กล้องขึ้น-ลง พร้อมกับขยับไปทางขวาเหมือนเส้นกราฟ โดยขณะบันทึกภาพคุณสามารถเปิด Liveview หรือมองผ่านช่องมองภาพก็ได้แล้วแต่ความถนัด
          การดึงช่วงซูมอย่างรวดเร็ว จากช่วงไวด์เป็นช่วงเทเล หรือจากช่วงเทเลเป็นช่วงไวด์ การทำเช่นนี้ทางเทคนิคเรียกว่า “ระเบิดซูม”
          ภาพที่เหมือนเส้นกราฟจะเลือกใช้รูรับแสงให้แคบ เพื่อให้เส้นทั้งหมดคมชัดไม่ฟุ้งกระจายจนขาดความน่าสนใจ เนื่องจากเราเปิดม่านชัตเตอร์นานแสงส่วนที่สว่างน้อยก็จะถูกบันทึกเข้ามาด้วยจึงเกิดแสงรางๆ อีกหลายเส้น สิ่งนี้นับว่าเป็นจินตนาการที่ต้องไปสร้างสรรค์กันเองเมื่อพบกับวัตถุที่ตรงกับความต้องการต้องบันทึกภาพเอาไว้...อย่าพลาด

CANON 550D, Lens 18-55 mm, F/8, 1/30 S, ISO800

CANON 550D, Lens 18-55 mm, F/8, 1/30 S, ISO800
          ลองเปลี่ยนสถานการณ์จากสภาพท้องฟ้าปกติมาเป็นยามสายฝนโปรยปราย จะมีวิธีคิดในการสื่ออย่างไรให้เพื่อนรู้ว่าเรานั้นถ่ายภาพขณะฝนตก
          กระจกหน้าต่าง หรืออะคริลิคใส เป็นตัวช่วยที่สามารถดึงเทคนิคการถ่ายภาพแสงไฟมาใช้ เพียงเพิ่มฉากหน้าที่เป็นหยดน้ำเข้าไป โดยเลือกโฟกัสบริเวณใดของภาพก็ได้ตามแต่แสงที่เราจัดองค์ประกอบไว้
          และสามารถใช้แฟลชแยกออกจากตัวกล้องยิงเข้าที่หยดน้ำก็จะได้ความงามอีกรูปแบบหนึ่ง
          จะเห็นได้ว่าการถ่ายภาพกลางคืนมีเทคนิค และรูปแบบการถ่ายภาพหลากหลายไม่ต่างจากช่วงเวลากลางวันเลย เพียงแต่มีความเข้าใจในการนำแสงที่มีอยู่มาใช้ให้ได้ และให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร
          ช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกวันอย่างไรก็รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ ก่อนลากันในครั้งนี้ขอฝากเคล็ด (ไม่) ลับให้สนุกเพลิดเพลินเวลารถติดบนท้องถนน
          ก่อนอื่นพยายามให้กล้องแนบ หรือยู่ใกล้กระจกแล้วใช้เทคนิคเดียวกับเมื่อสักครู่มาใช้ ยิ่งมีไฟสีแดง สีเขียวเข้ามาภาพก็จะยิ่งน่าสนใจ และรถยนต์ที่มีความสูงมากจะได้เปรียบเนื่องจากมีมุมกดมากกว่านั่นเอง จะบันทึกจากกระจกหน้า หรือกระจกข้าง ก็มีมุมมองใกล้เคียงกัน แต่ถ้าเป็นกระจกมองข้างจะเป็นเช่นไรต้องไปทดลองดู แต่ถ้าคุณขับรถอยู่ก็ไม่ควรนะด้วยความปรารถนาจากBIG CAMERA.....



CANON 550D, Lens 18-55 mm, F/5.6,
1/30 S, ISO800, AWB


CANON 550D, Lens 18-55 mm, F/5.6,
1/30 S, ISO800, AWB





จัดทำโดย
นางสาวกนบพร นบนอบ 5404011500
นางสาวดวงดาว ขำชาลี  5404024969